วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Kobe Bryant





คบี ไบรอันต์ (อังกฤษKobe Bryant) เป็นนักบาสเกตบอล ตำแหน่งชู๊ตติ้งการ์ด สังกัดทีม ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส เกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลวาเนียสหรัฐอเมริกา


โคบี้เป็นลูกชายคนสุดท้องของ Joe "Jellybean" Bryant อดีตนักบาสเกตบอล NBA ทีม Philadephia 76ers ส่วนมารดาชื่อ Pamela Cox Bryant พ่อแม่ตั้งชื่อ โคบี้ หรือ โกเบ (Kobe) ตามชื่อ เนื้อโกเบ เนื้อชื่อดังของประเทศญี่ปุ่นซึ่งพวกเขาเห็นในเมนูร้านอาหารแห่งหนึ่ง โคบี้มีพี่สาวสองคนชื่อ Sharia และ Shaya[แก้]
วัยเด็กและครอบครัว

เมื่อโคบี้อายุได้ 6 ขวบ คุณพ่อของเขาออกจากสมาคมบาสเก็ตบอลเอ็นบีเอ และพาครอบครัวไปย้ายไปอยู่ที่ประเทศประเทศอิตาลี เพื่อเล่นบาสเก็ตบอลอาชีพที่นั่น โคบี้ต้องปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตใหม่ๆ และฝึกหัดพูดภาษาอิตาลีและภาษาสเปนจนคล่องแคล่ว ในช่วงฤดูร้อนของทุกปี โคบี้จะเดินทางกลับมายังสหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมแข่งขันบาสเก็ตบอลลีกฤดูร้อน (Summer League) โคบี้เริ่มเล่นบาสเก็ตบอลตั้งแต่อายุ 3 ขวบ และช่วงวัยเด็กเขายังเล่นซ็อกเกอร์(ฟุตบอล)ด้วย ทีมโปรดของเขาคือทีม เอซี มิลาน(AC Milan) เขาเคยบอกว่า ถ้าเขายังอยู่ในอิตาลี เขาอาจจะลองพยายามเป็นนักฟุตบอลอาชีพ นักฟุตบอลที่เขาชื่นชอบ คือ แฟรงค์ รายการ์ด และ โรนัลดิญโญ่
คุณพ่อของโคบี้ เกษียณจากการเล่นบาสเก็ตบอลในอิตาลีเมื่อปีพ.ศ. 2534 และครอบครัวเขาได้ย้ายกลับสหรัฐอเมริกา

[แก้]มัธยมปลาย

ไบรอันต์เริ่มเป็นที่รู้จักในระดับประเทศเมื่อเขาสร้างผลงานกับทีมบาสเก็ตบอลของ Lower Merion High School ในเมืองฟิลาเดเฟีย ทีมเป็นที่รู้จักในชื่อทีม Aces ในปีที่สองที่เขาเล่นนั้น พ่อของเขาได้มาเป็นโค้ชให้กับทีมด้วย หลังจากนั้น ในค่ายบาสเก็ตบอล Adidas ABCD camp โคบี้แสดงฝีมือจนได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าประจำปี 1995 สำหรับผู้เล่นปีสุดท้าย ในการแข่งขันนั้นโคบี้ได้เล่นทีมเดียวกับ ลามารื โอดอม ซึ่งปัจจุบันคือเพื่อนร่วมทีม LA Lakers ใน NBAด้วย ระหว่างที่เขาเล่นบาสเก็ตบอลมัธยมปลายอยู่นั้น John Lucas โค้ชของทีม Philadephia 76ers ใน NBA ได้เรียกตัวเขาไปฝึกซ้อมด้วย และให้โอกาสเขาได้เล่นตัวต่อตัวกับดาราชื่อดังของทีมในขณะนั้น คือ Jerry Stackhouse ในปีสุดท้ายของมัธยม โคบี้พาทีมคว้าแชมป์ของรัฐได้สำเร็จ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 53 ปีของทีม ด้วยผลงานเฉลี่ยต่อเกม 30.8 คะแนน 12 รีบาวน์ 6.5 แอสซิสต์ 4 สตีล 3.8 บล็อก นำทีม Aces ชนะ 31 แพ้ 3 โคบี้จบการเล่นบาสเก็ตบอลระดับมัธยมด้วยการเป็นผู้เล่นที่ทำคะแนนรวมสูงสุดตลอดกาลของ เพนซิลเวเนียตอนใต้ คือ 2,883 คะแนน แซงหน้านักบาสเก็ตบอลระดับตำนานทั้ง Wilt Chamberlainและ Lionel Simmons เขายังได้รับรางวัลมากมายจากผลงานการเล่นปีสุดท้ายของเขา ไม่ว่าจะเป็นรางวัล Naismith High School Player of the Year,Gatorade Men's National Basketball Player of the YearMcDonald's All-American และ SA Today All-USA First Team player ในปี 1996 โคบี้สร้างความฮือฮาโดยการพา Brandy Norwood นักร้อง R&B สาวชื่อดังไปที่งานเต้นรำเมื่อจบการศึกษา แต่เขาทั้งสองก็เป็นเพียงแค่เพื่อนกันเท่านั้น ถึงแม้ว่าโคบี้จะสอบวัดระดับ SAT ได้ถึง 1,080 คะแนน และมีทุนการศึกษาสำหรับนักกีฬาจากหลายต่อหลายมหาวิทยาลัยรออยู่ แต่ไบรอันต์วัย 17 ปี ก็ตัดสินใจที่จะเข้าสู่วงการบาสเก็ตบอลอาชีพ NBA แทน ทำให้เขาเป็นถูกรุมล้อมไปด้วยสื่อมากมายที่ยังไม่คุ้นเคยกับเด็กที่จบมัธยมแล้วเลือกจะเข้าเป็นนักบาสเก็ตบอล NBA โดยไม่เรียนมหาวิทยาลัยก่อน โคบี้เคยกล่าวว่า ถ้าหากเขาเลือกเรียนมหาวิทยาลัย เขาจะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University)

[แก้]บาสเกตบอลอาชีพ NBA

[แก้]NBA Draft ปี 1996

ผู้เล่นตำแหน่งการ์ดคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเลือกเข้าสู่ NBA ตั้งแต่จบมัธยมปลาย ไบรอันต์ได้รับเลือกเป็นอันดับที่ 13 จากการดร๊าฟรอบแรกโดยทีม Charlotte Hornets ในปี 1996 อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของไบรอันต์ในขณะนั้นเห็นว่าโคบี้ไม่ควรจะเล่นให้กับทีมชาร์ล็อตต์ และชาร์ล็อตต์เองก็คิดที่จะแลกเปลี่ยนตัวผู้เล่นกับทีมเลเกอร์สอยู่แล้ว ก่อนหน้าการดร้าฟตัวผู้เล่นนั้น โคบี้มีโอกาสได้ร่วมฝึกซ้อมกับทีมในลอสแอนเจลิส ซึ่งเขาได้ต่อกรในสนามกับอดีตผู้เล่นของเลเกอร์ส คือ Larry Drew และ Michael Cooper จนสะดุดตา Jerry West ผู้จัดการทีมในขณะนั้น ในที่สุดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 1996 West ตัดสินใจแลกตัวผู้เล่นเซ็นเตอร์ตัวจริงของทีมเลเกอร์ส คือ Vlade Divac ไปให้ทีมฮอร์เน็ตส์ เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการดร้าฟตัวไบรอันท์ และเนื่องจากโคบี้เพิ่งอายุได้ 17 ปี พ่อแม่ของเขาต้องร่วมเซ็นสัญญากับเลเกอร์ส จนกระทั่งโคบี้สามารถเซ็นสัญญาเองได้เมื่ออายุครบ 18 ปี ก่อนจะเปิดฤดูกาล

[แก้]สามฤดูกาลแรก (ปี 1996-99)

ช่วงปีแรกนั้น ไบรอันท์ต้องเป็นตัวสำรองให้กับการ์ดรุ่นพี่อย่าง Eddie Jones และ Nick Van Exel ในขณะนั้น โคบี้คือผู้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์(ปัจจุบันสถิตินี้โดนทำลายโดยเพื่อนร่วมทีมเลเกอร์ส ชื่อ Andrew Bynum) และยังเป็นผู้เล่นตัวจริงที่อายุน้อยที่สุดที่เคยมีมาด้วย ในช่วงเริ่มต้นเขาอาจไม่ได้ลงเล่นมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปเขาก็มีโอกาสได้ลงเล่นมากขึ้น เขาจบฤดูกาลแรก (1996-97) ด้วยเวลาลงสนามเฉลี่ย 15.5 นาทีต่อเกม สร้างชื่อจนกลายเป็นจอมเหินเวลาและขวัญใจของแฟนๆด้วยการคว้าแชมป์ Slam Dunk Contest ได้รับเลือกให้ติดทีมอันดับสองของ NBA All Rookies พร้อมกับเพื่อนร่วมทีม ชื่อ Travis Knight นาทีสุดท้ายของฤดูกาลนั้นของเขาจบลงด้วยหายนะ เมื่อชู้ตบอลพลาดแบบไม่โดนห่วง (air ball) ถึง 3 ครั้ง ในช่วงเวลาสำคัญ คือ ลูกแรกเขาชู้ตสุดท้ายที่จะทำให้ทีมชนะพลาด ก่อนจะหมดเวลาปกติ ทำให้เกมต้องเข้าสู่ช่วงต่อเวลา และในช่วงท้ายของการต่อเวลายังยิงสามคะแนนพลาดอีก 2 ครั้ง ทำให้ทีมเลเกอร์สต้องตกรอบแรกใน Playoffs (ระบบแพ้คัดออก เล่นแบบชนะ 4 ใน 7 เกม) ให้กับทีม Utah Jazz หลังการแข่งขัน ชาคีล โอนีล(Shaquille O'Neal) เพื่อนร่วมทีมในตอนนั้น ให้ความเห็นว่า "ไบรอันต์เป็นคนเดียวในตอนนั้นที่กล้าพอจะชู้ตลูกเหล่านั้น"
ในปีที่สองของการเล่น โคบี้ได้โอกาสลงเล่นมากขึ้น และเริ่มแสดงฝีมือให้เห็นว่าเขาเป็นการ์ดหนุ่มที่มีพรสวรรค์ เขาทำคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปีแรกจาก 7.6 เป็น 15.4 แต้มต่อเกม เขาได้ลงเล่นมากขึ้นเมื่อเลเกอร์สใช้แผน "ผู้เล่นตัวเล็ก" ทำให้โคบี้รับตำแหน่งปีกตัวเล็ก (Small Forward) และได้ลงเล่นพร้อมกับการ์ดรุ่นพี่ที่เขาต้องเป็นตัวสำรองให้เป้นประจำ แม้ว่าจะได้แค่อันดับรองและพลาดตำแหน่งผู้เล่นสำรองยอดเยี่ยม (NBA's Sixth Man of The Year)ไป แต่ด้วยความนิยมจากแฟนๆ ทำให้เขาได้รับเลือกให้ติดทีมรวมดารา และกลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ NBA ที่ได้เป็นตัวจริงในเกมรวมดารา NBA All-Star ปีนั้น เพื่อนร่วมทีมของเขาคือ Shaquille O'NealEddie Jones และ Nick Van Exel ก็ได้รับคะแนนเสียงจากแฟนเช่นกัน ทำให้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1983 ที่มีผู้เล่นจากทีมเดียวกันถึง 4 คนได้ร่วมทีมเดียวกันในเกมรวมดารา คะแนนเฉลี่ย 15.4 คะแนนของโคบี้ยังเป็นคะแนนสูงสุดสำหรับผู้เล่นที่ไม่ได้เป็นตัวจริงของทีมในฤดูกาลปกติอีกด้วย
ในฤดูกาล 1998-99 ขึ้นมาเป็นการ์ดแนวหน้าของลีกอย่างรวดเร็ว เมื่อการ์ดตัวจริงทั้งสองคน คือ Nick Van Exel และ Eddie Jones ถูกเทรดออกไป โคบี้ลงเล่นเป็นตัวจริงทุกเกมตลอด 50 เกม ในปีที่ NBA มีปัญหา lockout ระหว่างฤดูกาลนั้น โคบี้ได้ต่อสัญญากับทีมออกไปอีก 6 ปี เป็นมูลค่า 70 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้เขาได้อยู่กับทีมเลเกอร์สไปจนถึงฤดูกาล 2003-04 แม้ว่าเขาเพิ่งจะเริ่มอาชีพการเล่นบาสเก็ตบอลได้ไม่นาน แต่สื่อกีฬาต่างๆก็เริ่มเปรียบเทียบความสามารถของเขากับผู้เล่นระดับโลกอย่าง Michael Jordan และ Magic Johnson แล้ว อย่างไรก็ตาม ใน playoffs ปีนั้น เลเกอร์สก็โดน San Antonio Spursกวาดเรียบ 4 เกมรวดในเกมรอบชิงชนะเลิศของฝั่งตะวันตก (Western Conference semi-finals)

[แก้]แชมป์ 3 สมัยซ้อน (ปี 2000-02)

ในไม่ช้าชะตาชีวิตของไบรอันท์ก็เปลี่ยนไปเมื่อ Phil Jackson เข้ามารับหน้าที่โค้ชให้กับทีม LA Lakers ในปี 1999 หลังจากพัฒนาตัวเองมาหลายปี โคบี้กลายมาเป็นผู้เล่นตำแหน่งการ์ดตัวทำคะแนน (Shooting Guard) ชั้นแนวหน้า ได้รับเลือกให้ติดทีม All-NBA, All-Star และ All-Defensive ปีนี้ ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส กลายมาเป็นทีมเต็งที่จะได้แชมป์ ภายใต้การนำทีมของ โคบี้ ไบรอันท์ และ ชาคีล โอนีล ที่ผสมผสานการเล่นของเซ็นเตอร์กับการ์ดได้อย่างยอดเยี่ยม และด้วยแผนการบุกแบบสามเหลี่ยม (Triangle Offense) ซึ่ง ฟิล แจ็กสัน เคยใช้พาทีม Chicago Bulls คว้าแชมป์ไปแล้วถึง 6 สมัย ก็ทำให้ทั้งสามคนพาทีม เลเกอร์สได้แชมป์ NBA ถึง 3 ปีซ้อน ในปี 2000, 2001 และ 2002
โคบี้เริ่มต้นฤดูกาล 1999-2000 ด้วยการพลาดการลงสนามถึง 6 สัปดาห์เมื่อเขาได้รับบาดเจ็บที่มือ ในเกมอุ่นเครื่องก่อนเริ่มฤดูกาลที่แข่งกับทีมWashington Wizards เมื่อเขากลับมาลงสนามได้ เขาลงเล่นมากกว่า 38 นาทีต่อเกม และทำผลงานเฉลี่ยต่อเกมสูงขึ้น รวมถึงการเป็นผู้เล่นที่ทำ แอสซิสต์และสตีล สูงสุดของทีมด้วย คู่หูโอนีลกับไบรอันท์พร้อมด้วยเพื่อนร่วมทีมที่แข็งแกร่งพาทีมชนะถึง 67 เกม เป็นสถิติการชนะสูงสุดเป็นอันดับ 5 ในประวัติศาตร์ NBA โอนีลได้รับตำแหน่งผู้เล่นทรงคุณค่าในฤดูกาลปกติ และโคบี้ได้รับเลือกให้ติดทีมผู้เล่นยอดเยี่ยมอันดับสอง (All-NBA Second Team) และ ทีมรับยอดเยี่ยม (All Defensive Team) เป็นครั้งแรกในชีวิต(เป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเลือกติดทีมรับยอดเยี่ยม) ขณะที่ต้องรับบทพระรองของทีมในรอบเพลย์ออฟ ไบรอันต์ก็มีผลงานที่โดดเด่น รวมถึงการทำ 25 คะแนน 11 รีบาวน์ 7 แอสซิสต์ และ 4 บล็อก ในเกม 7 ของรอบชิงชนะเลิศฝั่งตะวันตก ที่เลเกอร์ส เจอกับ Portland Trail Blazers เขายังเป็นคนส่งบอลทำ alley-oop ให้กับโอนีลทำให้ทีมชนะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศด้วย ในรอบชิงชนะเลิศ พวกเขาต้องพบกับทีม Indiana Pacers ไบรอันต์ได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าใชช่วงควอเตอร์ที่ 2 ของเกมที่ 2 ต้องออกจากการแข่งขัน และไม่ได้ลงเล่นในเกมที่ 3 เมื่อเขากลับมาลงเล่นในเกมที่ 4 ไบรอันต์ทำคะแนนไป 22 คะแนนในครึ่งหลัง เขาต้องขึ้นเป็นผู้นำทีมเมื่อ โอนีล ทำ ฟาวล์เอ้าท์ ต้องออกจากการแข่งขัน ในช่วงท้ายของการต่อเวลา โคบี้ชู้ตทำคะแนนสุดท้ายให้ทีมขึ้นนำ 120-118 และด้วยชัยชนะในเกมที่ 6 ทำให้เลเกอร์สได้กลับมาครองแชมป์อีกครั้งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1988
ถ้าดูตามสถิติแล้ว ในฤดูกาล 2000-01 โคบี้ทำผลงานได้แทบไม่ต่างกับฤดูกาลก่อนหน้า นอกจากทำคะแนนเฉลี่ยได้มากขึ้นถึง 6 คะแนนต่อเกม(28.5) เป็นอีกปีนึงที่เขาทำแอสซิสต์สูงสุดในทีม ปีนี้ยังเป็นปีที่ความไม่ลงรอยกันระหว่างโอนีลกับไบรอันต์เริ่มที่จะเปิดเผยมากขึ้น อย่างไรก็ตามเลเกอร์สก็ยังชนะได้ถึง 56 เกม แม้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว 11 เกม และทำสถิติในรอบเพลย์ออฟด้วยการชนะ 15 แพ้ 1 ด้วยการกวาด Portland Trail Blazers, Sacramento Kings และ San Antonio Spurs ก่อนที่จะแพ้เกมแรกในรอบชิงชนะเลิศ กับ Philadephia 76ers ในช่วงต่อเวลา แล้วกลับมาชนะ 4 เกมรวดคว้าแชมป์สมัยที่ 2 ติดต่อกัน ไบรอันต์ได้ลงสนามมากกว่าเดิมในช่วงเพลย์ออฟและทำให้ผลงานเฉลี่ยของเขาเพิ่มขึ้นเป็น 29.4 คะแนน 7.3 รีบาวน์ 6.1 แอสซิสต์ต่อเกม และในช่วงเพลย์ออฟนั้นเอง แชคีล โอนีล เพื่อนร่วมทีมประกาศว่า โคบี้คือผู้เล่นที่ดีที่สุดในเอ็นบีเอ ไบรอันต์ได้รับเลือกให้ติดทีมยอดเยี่ยมอันดับสอง (All-NBA Second Team) และ ทีมรับยอดเยี่ยม (NBA All Defensive Team) เป็นปีที่สองติดต่อกัน และยังได้รับเลือกให้ติดทีมรวมดารา (NBA All-Star) เป็นผู้เล่นตัวจริง เป็นปีที่สามติดต่อกันด้วย (เว้นปี 1999 ที่ไม่มีการแข่งขัน All-Star)
ในฤดูกาล 2001-02 โคบี้ลงสนามในฤดูกาลปกติถึง 80 เกมเป้นครั้งแรกในอาชีพการเล่น เขายังคงทำผลงานเฉลี่ยต่อเกม 25.2 คะแนน 5.5 รีบาวน์ 5.5 แอสซิสต์ ซึ่งเป็นการทำแอสซิสต์สูงที่สุดในทีมอีกครั้งนึง เขาสถิติที่ดีที่สุดในอาชีพการเล่นด้วยการชู้ตที่แม่นยำถึง 46.9% ได้รับเลือกให้ติด ทีมรวมดารา และ ทีมรับยอดเยี่ยม อีกครั้ง และได้รับเลือกให้ติด ทีมยอดเยี่ยมอันดับหนึ่ง (All-NBA First Team) เป็นครั้งแรกในชีวิต เลเกอร์สชนะ 58 เกม เป็นอันดับสองของฝั่งตะวันตก รองจากคู่แข่งร่วมรัฐ คือ ซาคราเมนโต้ คิงส์ ถนนในรอบเพลย์ออฟไม่ได้โรยด้วยกลับกุหลาบสำหรับเลเกอร์สเหมือนปีที่ผ่านมา แม้พวกเขาจะกวาด พอร์ตแลนด์ในรอบแรก เอาชนะ สเปอร์ส 4-1 เกม แต่พวกเขาเสียเปรียบ ซาคราเมนโต้ เนื่องจากทำอันดับได้แกว่าตอนฤดูกาลปกติ และต้องกลับไปเล่นที่บ้านของ ซาคราเมนโต้ ในเกมสุดท้าย เพราะการแข่งขันยื้ดเยื้อไปถึงเกมที่ 7 เป็นครั้งแรกที่เลเกอร์สต้องแข่งถึงเกมสุดท้ายแบบนี้ในรอบชิงชนะเลิศของฝั่งตะวันตก นับตั้งแต่ปี 2000 อย่างไรก็ตาม เลเกอร์สก็สามารถเอาชนะและเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ในรอบชิงชนะเลิศ ไบรอันท์ ทำคะแนนเฉลี่ย 26.8 แต้ม ด้วยเปอร์เซนต์การชู้ต 51.4% รีบาวน์ 5.8 ครั้ง และแอสซิสต์ 5.3 ครั้งต่อเกม รวมถึงทำคะแนนรวมเท่ากับ 1 ใน 4 ของคะแนนรวมของทีม ด้วยวัยเพียง 23 ปี เขากลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ได้แชมป์ NBA 3 สมัย การเล่นของเขาเป็นที่จดจำและยกย่องในการเล่นช่วงควอร์เตอร์ที่ 4 ของเกม โดยเฉพาะในสองรอบสุดท้ายของเพลย์ออฟ ทำให้เขามีชื่อในการเป็นผู้เล่นที่ทีมพึ่งพาได้ในช่วงเวลาสำคัญ

[แก้]ไปไม่ถึงฝั่งฝัน (ปี 2002-2004)

ในฤดูกาล 2002-03 ไบรอันท์ทำคะแนนเฉลี่ย 30 แต้มต่อเกม และจารึกประวัติศาสตร์ด้วยการทำคะแนน 40 แต้มหรือมากกว่า ติดต่อกันถึง 9 เกม ทำให้เดือนกุมภาพันธ์ เขาทำคะแนนเฉลี่ย 40.6 แต้มต่อเกม และในฤดูกาลเดียวกันนี้เอง เขายังทำ 6.9 รีบาวน์ 5.9 แอสซิสต์ และ 2.2 สตีลต่อเกมอีกด้วย โคบี้ได้รับโหวตให้ติดทีม All-NBA และ All-Defensive 1st Team อีกครั้ง และมาเป็นอันดับ 3 ในการโหวตให้รับรางวัล MVP หลังจากทำสถิติ ชนะ 50 แพ้ 32 ครั้ง ในฤดูกาลปกติ เลเกอร์ส กลับพ่ายแพ้ให้กับ ซานอันโตนิโอ สเปอร์ส ในรอบรองชนะเลิศฝั่งตะวันตก ก่อนที่สเปอร์จะเข้าไปคว้าแชมป์เอ็นบีเอได้ใน 6 เกม
ฤดูกาลถัดมา 2003-2004 เลเกอร์ส ได้ตัวผู้เล่นระดับออลสตาร์ อย่าง Karl Malone และ Gary Payton มาร่วมทีมเพื่อจะมุ่งสู่การคว้าแชมป์เอ็นบีเออีกครั้ง ก่อนฤดูกาลแข่งขันจะเริ่มต้น โคบี้ ไบรอันท์ ถูกจับกุมข้อหาล่วงลัเมิดทางเพศ ทำให้เขาพลาดการลงสนามบางเกมเนื่องจากต้องไปปรากฎตัวที่ศาล หรือบางครั้งต้องไปขึ้นศาลก่อนแล้วจึงเดินทางตามมาที่สนามแข่งขันในวันเดียวกัน ในเกมสุดท้ายของฤดูกาลปกติ โคบี้ชู้ตลูกสุดท้ายก่อนหมดเวลาถึง 2 ครั้ง ทำให้ทีมชนะเป็นผู้นำในฝั่ง Pacific Division ช่วงสุดท้ายของควอเตอร์ที่ 4 ไบรอันท์ยิงสามแต้ม ทำให้คะแนนเสมอกันและต้องต่อเวลา เกมสูสียืดเยื้อจนต้องต่อเวลาเป็นครั้งที่สอง ก่อนที่ไบรอันท์จะยิงลูกสุดท้ายให้เลเกอร์สชนะไป 105-104 คะแนน ทีมที่ประกอบไปด้วยผู้เล่นตัวจริงซึ่งน่าจะได้เข้าสู่หอเกียรติยศในอนาคตทั้ง 4 คนอย่าง โอนีล, มาโลน, เพย์ตัน และไบรอันท์ นำพาทีมให้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้อีกครั้ง แต่ทีม Detroit Pistons ก็ดับฝันของพวกเขาใน 5 เกม ในรอบเพลย์ออฟนั้น โคบี้เฉลี่ยต่อเกม 22.6 คะแนน กับ 4.4 แอสซิสต์ และชู้ตเพียง 35.1% เมื่อฤดูกาลสิ้นสุดลง ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของทีมก็เกิดขึ้นเมื่อ โค้ช Phil Jackson ไม่ได้ต่อสัญญาและ Rudy Tomjanovich มารับช่วงเป็นโค้ชต่อ ผู้เล่นหลักอย่าง แชคีล โอนีล โดนเทรดไปอยู่ ไมอามี่ ฮีท แลกกับ ลามาร์ โอดอม, คารอน บัตเลอร์ และ ไบรอัน แกรนท์ ส่วนโคบี้ก็ปฏิเสธข้อเสนอของ Los Angeles Clippers และจรดปากกาเซ็นสัญญา 7 ปี กับ เลเกอร์ส

[แก้]ความผิดหวังในรอบเพลย์ออฟ (ปี 2004-07)

ไบรอันท์ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงฤดูกาล 2005-06 ด้วยชื่อเสียงที่ย่ำแย่จากสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในปีก่อน เรื่องเสียหายเรื่องหนึ่งก็คือคำวิพากษ์วิจารณ์ของ อดีตโค้ช ฟิล แจ็กสัน ที่เขียนไว้ในหนังสือ The Last Season: A Team in Search of its Soul ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆในฤดูกาล 2003-04 ในหนังสือนั้น แจ็กสัน กล่าวถึงโคบี้ว่า เป็นคนที่ "ไม่สามารถที่จะโค้ช(สั่งสอนแนะนำ)ได้"
ฤดูกาลผ่านไปได้แค่ครึ่งทาง รูดี้ ทอมจาโนวิช ก็ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าโค้ชของเลเกอร์สกระทันหันด้วยปัญหาสุขภาพ ทำให้ผู้ช่วยโค้ช แฟรงก์ แฮมเบล็น ต้องมารับหน้าที่แทน แม้ว่าโคบี้จะทำคะแนนเฉลี่ยต่อเกมสูงสุดเป็นอันดับสองของลีก แต่เลเกอร์สก็ล้มลุกคลุกคลานและไม่สามารถเข้ารอบเพลย์ออฟได้เป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ ทำให้โคบี้โดนลดระดับโดยรวมลง ไม่ได้รับเลือกให้ติดทีมรับยอดเยี่ยม ถูกลดไปอยู่ในทีม All-NBA อันดับสาม ในระหว่างฤดูกาลนั้นไบรอันต์ยังไปมีเรื่องมีราวกับ เรย์ อัลเลน และ คาร์ล มาโลน ด้วย
ฤดูกาล 2005-06 เรียกได้ว่าเป็นทางแยกสำคัญในอาชีพนักบาสเก็ตบอลของไบรอันต์ เมื่อ ฟิล แจ็กสัน กลับเข้ามาคุมทีมอีกครั้ง ไบรอันต์เห็นพ้องกับทีมที่นำโค้ชกลับมา และทั้งสองก็ทำงานด้วยกันได้อย่างดี ช่วยกันพาทีมกลับเข้าสู่รอบเพลย์ออฟได้อีกครั้ง การทำคะแนนของไบรอันต์พุ่งขึ้นสูงสุดในชีวิตการเล่นอาชีพ วันที่ 20 ธันวาคม 2005 เขาทำคะแนนได้ 62 คะแนน ในสามควอเตอร์ ที่เจอกับ ดัลลัส มาเวอริกส์ เมื่อเข้าสู่ควอเตอร์ที่สี่ ไบรอันต์ก็ทำคะแนนมากกว่าทีมมาเวอริกส์ทั้งทีมไปแล้วด้วยคะแนน 62-61 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่มีผู้เล่นทำแบบนี้ได้ในเวลาแค่ สามควอเตอร์ นับตั้งแต่ปรับเวลา shot clock มาเหลือ 24 วินาที ต่อมาเมื่อเลเกอร์สพบกับทีม ไมอามี่ ฮีท ในวันที่ 16 มกราคม 2006 ไบรอันต์ กับ ชาคีล โอนีล ก็กลายเป็นหัวข้อข่าวดังเมื่อทั้งสองจับมือและกอดกันก่อนเริ่มเกม นับเป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งระหว่างทั้งสองที่ยาวนานมาตั้งแต่ โอนีล ออกจากลอสแองเจลีสไป หนึ่งเดือนต่อมาในเกม All-Star 2006 ทั้งสองก็ยังพูดคุยหัวเราะกันหลายต่อหลายครั้ง
วันที่ 22 มกราคม 2006 ไบรอันต์ทำคะแนน 81 แต้ม ในเกมที่เอสชนะ โตรอนโต้ แร็ปเตอร์ส ไปได้ 122-104 นอกจากจะเป็นการทำลายสถิติสูงสุดของทีม ที่ เอลกิ้น เบย์เลอร์ เคยทำไว้ 71 คะแนนแล้ว ยังเป็นการทำคะแนนสูงสุดอันดับสองในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอ เป็นรองเพียงแค่ วิลท์ แชมเบอร์เลน ที่ทำไว้ 100 แต้มเมื่อปี 1962 เท่านั้น ในเดือนเดียวกันนั้นเอง โคบี้ยังกลายเป็นผู้เล่นคนแรกนับแต่ปี 1964 ที่ทำคะแนน 45 แต้มหรือมากกว่า 4 เกมติดต่อกัน มีเพียงแชมเบอร์เลน และเบย์เลอร์เท่านั้นที่เคยทำแบบนี้ได้ สถิติในเดือนมกราคมของไบรอันท์ ทำคะแนนเฉลี่ย 43.4 แต้มต่อเกม สูงสุดเป็นอันดับแปดในประวัติศาสตร์การทำคะแนนเฉลี่ยในเดือนเดียวของเอ็นบีเอ และเป็นคนเดียวที่ทำได้นอกจาก แชมเบอร์เลน เมื่อจบฤดูกาล 2005-06 ไบรอันต์จารึกประวัติศาสตร์ของทีมในหนึ่งฤดูกาล ในการทำคะแนนมากกว่า 40 แต้ม (27 เกม)และทำคะแนนรวมสูงสุด 2,832 แต้ม เขาได้รางวัลผู้เล่นที่ทำคะแนนสูงสุดในลีกเป็นครั้งแรก (35.4 แต้มต่อเกม) จากการโหวตผู้เล่นทรงคุณค่าแห่งปี 2006 เขาได้คะแนนรวมเป็นอันดับสี่ แต่ได้รับการโหวตให้เป็นอันดับหนึ่งถึง 22 เสียง เป็นรองเพียงแค่ผู้ชนะคือ สตีฟ แนช ทีม ลอส แองเจลีส เลเกอร์ส ทำสถิติ ชนะ 45 แพ้ 37 ชนะมากกว่าฤดูกาลก่อนหน้า 11 เกม และผู้เล่นทั้งทีมดูจะเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ต่อมาในฤดูกาลนั้น มีข่าวว่า ไบรอันต์ จะเปลี่ยนหมายเลขเสื้อ จากหมายเลข 8 เป็นหมายเลข 24 เมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2006-07 หมายเลขเสื้อของไบรอันท์ที่เขาใส่เป็นครั้งแรกตอนเรียนมัธยมปลายคือ เบอร์ 24 ก่อนจะเปลี่ยนไปใส่เบอร์ 33 หลังจากฤดูกาลจบลง โคบี้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว TNT ว่าเขาอยากใส่เบอร์ 24 มาตั้งแต่ตอนเริ่มเล่นในเอ็นบีเอแล้ว แต่ตอนนั้นมีคนใช้เบอร์นี้อยู่ และจะใช้เบอร์ 33 ก็ไม่ได้ เพราะเบอร์นี้ถูกเกษียณให้เป็นเกียรติกับ คารีม อับดุล-จับบาร์ ตัวโคบี้เองใส่หมายเลข 143 ตอนอยู่ที่ค่าย Adidas ABC ก็เลยเอาเลขมารวมกัน ได้เป็นเลข 8 ในรอบแรกของเพลย์ออฟ เลเกอร์เล่นได้ดีและขึ้นนำทีม ฟินิกส์ ซันส์ 3-1 เกม เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในเกมสี่ เมื่อโคบี้ชู้ตลูกสุดท้ายในช่วงเวลาปกติทำให้เกมต้องตัดสินในช่วงต่อเวลา และยังชู้ตลูกสุดท้ายทำให้ทีมชนะในช่วงต่อเวลาอีกด้วย ในเกมที่ 6 ที่เหลือเวลาอีกเพียงหกวินาที พวกเขาก็จะปราบทีมซันส์ได้แล้ว แต่พวกเขากลับพลาดท่า แพ้ไปในช่วงต่อเวลา 126-118 และแม้ว่า โคบี้จะทำคะแนนเฉลี่ย 27.9 แต้มต่อเกมในการสู้กับฟินิกส์ ซันส์ เลเกอร์สก็พังไม่เป็นท่าและพ่ายตกรอบเพลย์ออฟใน 7 เกม ช่วงปิดฤดูกาล 2006 ไบรอันต์ต้องผ่าตัดเข่า ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมทีมชาติเพื่อแข่ง 2006 FIBA World Championship ได้
ในช่วงฤดูกาล 2006-07 ไบรอันต์ได้รับเลือกให้เล่นในเกม All-Star เป็นครั้งที่ 9 และในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เขาทำ 31 คะแนน 6 แอสซิสต์ และ 6 สตีล ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าของเกมออลสตาร์เป็นครั้งที่สอง ตลอดฤดูกาลนั้นไบรอันต์มีส่วนในเหตุการณ์ในสนามหลายครั้ง วันที่ 28 มกราคม ขณะที่กระโดดชู้ตลูกสำคัญที่อาจทำให้ทีมชนะ เขาพยายามจะประชิดตัวเพื่อเรียกฟาวล์จาก มานู จิโนบิลี่ การ์ดของ ซาน อันโตนิโอ สเปอร์ส แต่กลับเหวี่ยงศอกใส่หน้าของ จิโนบิลี่ ซึ่งต่อมาทางเอ็นบีเอได้ตรวจสอบจากภาพและตัดสินห้ามไบรอันต์ลงเล่นในเกมต่อมา ด้วยเหตุผลว่า โคบี้ "เคลื่อนไหวแบบผิดธรรมชาติ" คือ จงใจเหวี่ยงศอกไปด้านหลัง หลังจากนั้น ในวันที่ 6 มีนาคม ดูเหมือนว่า โคบี้ จะทำแบบเดิมอีก คราวนี้เป็นการเหวี่ยงแขนใส่ มาร์โก้ ยาริก การ์ดของ มินเนโซต้า ทิมเบอร์วูลฟ์ วันที่ 7 มีนาคม เอ็นบีเอจึงห้ามไบรอันต์ลงเล่นอีกหนึ่งเกม เมื่อกลับมาลงเล่นในวันที่ 9 มีนาคม เขาศอกใส่หน้า ไคลี่ คอร์เวอร์ แต่ครั้งนี้ เอ็นบีเอพิจารณาว่า เป็นการ ฟาวล์รุนแรง แบบที่ 1
วันที่ 17 มีนาคม โคบี้ทำคะแนนสูงสุดในฤดูกาล คือ 65 แต้ม ในเกมที่เลเกอร์สเปิดบ้านรับ พอร์ตแลนด์ เทรล เบลเซอร์ ช่วยให้ทีมชนะหลังจากแพ้รวดมา 7 เกม เป็นการทำคะแนนสูงสุดอันดับสองในชีวิตการเล่น 11 ปี เกมถัดมาไบรอันท์ทำ 50 คะแนน เมื่อเจอกับ มินเนโซต้า ทิมเบอร์วูลฟ์ และ ทำ 60 คะแนนในบ้านของ เมมฟิส กริซลีย์ กลายเป็นผู้เล่นคนที่สองของเลเกอร์สที่ทำ 50 คะแนนหรือมากกว่าติดต่อกันสามเกม ไม่เคยมีใครทำมาก่อนหลังจากที่ ไมเคิล จอร์แดน ทำไว้เมื่อปี 1984

Tokyo

ภูมิศาสตร์


หมู่เกาะโองาซาวาระซึ่งมีจุดที่ใต้สุดและตะวันออกสุดของญี่ปุ่น
กรุงโตเกียวตั้งอยู่ในที่ราบคันโตติดกับอ่าวโตเกียว มีขนาดประมาณ 90 กิโลเมตรจากตะวันออกถึงตะวันตก และ 25 กิโลเมตรจากเหนือถึงใต้ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดชิบะ ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดยามานาชิ ทิศใต้ติดกับจังหวัดคานางาวะ และทิศเหนือติดกับจังหวัดไซตามะ เขตการปกครองของโตเกียวนั้นรวมไปถึงหมู่เกาะอิสุและหมู่เกาะโองาซาวาระด้วย จึงทำให้โตเกียวมีจุดที่อยู่ใต้สุด (โอะกิโนะโทะริชิมะ) และตะวันออกสุด (มินะมิโทะริชิมะ) ของญี่ปุ่นอยู่ในพื้นที่ด้วย
ทางตะวันออกของโตเกียวเป็นที่ราบตะกอนน้ำพา เช่นบริเวณปากแม่น้ำสุมิดะ แม่น้ำเอะโดะ พื้นดินค่อนข้างอ่อนจึงทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดิน[9] อ่าวโตเกียวถูกถมที่เพื่อสร้างพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ยุคเอะโดะ[10] และเริ่มมีการถมที่เพื่อสร้างสถานที่กำจัดขยะตั้งแต่ปี 1927[11] ปัจจุบันพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 ของอ่าวโตเกียวกลายเป็นพื้นที่ถูกถม[12] ในเขตนิชิทะมะทางตะวันตกเป็นที่สูง โดยมีเขาคุโมะโทะริ ซึ่งมีความสูง 2,017 เมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดในโตเกียว โตเกียวตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่มีพลังซึ่งอยู่ใกล้ผิวโลกมาก จึงมีการคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้น[13]
ทั้งหมู่เกาะอิสุและหมู่เกาะโองาซาวาระเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟ หมู่เกาะอิสุมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่จำนวนมาก เช่นในภูเขาไฟโอะยะมะบนเกาะมิยะเกะที่ระเบิดในปี 2000[14] ส่วนหมู่เกาะโองาซาวาระนั้นอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากและมีสัตว์ท้องถิ่นหลายชนิด จนบางครั้งถูกเรียกว่าหมู่เกาะกาลาปาโกสแห่งตะวันออก[15]
ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชุ่มชื้นกึ่งเขตร้อน (Cfa) [16] และตามการแบ่งเขตภูมิอากาศในประเทศญี่ปุ่น โตเกียวอยู่ในเขตภูมิอากาศชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีความแตกต่างระหว่างฤดูชัดเจน อากาศเปลี่ยนแปลงง่ายในแต่ละวัน ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงและฝนตกมาก ฤดูหนาวมีวันที่แดดออกและอากาศแห้ง
โตเกียวเป็นตัวอย่างของปรากฏการณ์เกาะความร้อน ซึ่งเป็นผลจากการปล่อยความร้อนโดยวิธีต่าง ๆ เช่นไอร้อนจากเครื่องปรับอากาศหรือรถยนต์ และการพัฒนาตัวเมืองทำให้มีพื้นที่สีเขียวน้อยลง[17]

เศรษฐกิจ

โตเกียวเป็นหนึ่งในสามศูนย์กลางทางการเงินของโลกร่วมกับนครนิวยอร์กและลอนดอน โตเกียวเป็นเขตเมืองที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากการสำรวจพบว่าในเขตโตเกียวซึ่งมีประชากรประมาณ 35.2 ล้านคน มีจีดีพีรวม 1.191 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2005 (เทียบด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ) ทำให้โตเกียวเป็นเขตเมืองที่มีจีดีพีสูงที่สุดในโลก[18] ในปี 2008 มีบริษัท 47 แห่งในรายชื่อ Fortune Global 500 ที่มีฐานอยู่ในโตเกียว ซึ่งมากเป็นเกือบสองเท่าของเมืองอันดับสอง [19]
โตเกียวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางหลักทางการเงินระหว่างประเทศ[20] และมีสำนักงานใหญ่ของวาณิชธนกิจและบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่ง ในระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งเป็นการพัฒนาภายใต้การควบคุมจากทางการ บริษัทใหญ่ ๆ หลายแห่งย้ายสำนักงานใหญ่จากเมืองต่าง ๆ เช่นโอซะกะ (ซึ่งเป็นเมืองหลวงทางการค้าในอดีต) มายังโตเกียว โดยหวังว่าจะได้ประโยชน์จากการที่ติดต่อรัฐบาลได้สะดวกขึ้น แต่แนวโน้มนี้ก็ชะลอตัวลงเมื่อประชากรเพิ่มขึ้นและทำให้ค่าครองชีพสูงตามขึ้นไปด้วย

[แก้]การคมนาคม

โตเกียวซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคคันโตตอนใต้ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมภายในประเทศและระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ทั้งทางรถไฟ รถยนต์ และทางอากาศ การขนส่งมวลชนภายในโตเกียวที่สำคัญคือรถไฟและรถใต้ดินที่มีเครือข่ายกว้างใหญ่และมีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ
ภายในโตเกียวมีสนามบินนานาชาติฮาเนดะ ซึ่งให้บริการเที่ยวบินในประเทศเป็นส่วนใหญ่และเป็นสนามบินที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุดในเอเชีย[21] สนามบินนานาชาติหลักคือสนามบินนาริตะซึ่งอยู่ในจังหวัดจิบะเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะอิสุก็มีสนามบินของตนเอง เช่นท่าอากาศยานฮาชิโจจิมะ ท่าอากาศยานมิยะเกะจิมะ ท่าอากาศยานโอชิมะ และมีเที่ยวบินมายังสนามบินฮาเนดะ แต่หมู่เกาะโองาซาวาระยังไม่มีสนามบิน เพราะมีข้อโต้แย้งว่าไม่ควรสร้างสนามบินเพราะจะเป็นอันตรายต่อธรรมชาติของเกาะ[22]
รถไฟเป็นการคมนาคมหลักในโตเกียว ซึ่งมีเครือข่ายทางรถไฟในเมืองกว้างใหญ่มากที่สุดในโลกบริษัท รถไฟญี่ปุ่นตะวันออก จำกัดเป็นผู้ให้บริการรถไฟที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งรวมถึงรถไฟสายยะมะโนะเทะซึ่งวิ่งเป็นวงผ่านสถานีที่สำคัญของโตเกียวเช่นสถานีโตเกียว และ ชินจูกุ รถใต้ดินให้บริการโดยบริษัท รถไฟใต้ดินโตเกียว จำกัด (มหาชน) และสำนักงานการขนส่งและจราจรโตเกียว

ประวัติ สุนทรภู่

ต้นตระกูล
บันทึกส่วนใหญ่มักระบุถึงต้นตระกูลของสุนทรภู่เพียงว่า บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น ทั้งนี้เนื่องจากเชื่อถือตามพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ต่อมาในภายหลัง เมื่อมีการค้นพบข้อมูลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ก็มีแนวคิดเกี่ยวกับต้นตระกูลของสุนทรภู่แตกต่างกันออกไป นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ฝ่ายบิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง จริง เนื่องจากมีปรากฏเนื้อความอยู่ในนิราศเมืองแกลง ถึงวงศ์วานว่านเครือของสุนทรภู่ แต่ความเห็นเกี่ยวกับตระกูลฝ่ายมารดานี้แตกออกเป็นหลายส่วน ส่วนหนึ่งว่าไม่ทราบที่มาแน่ชัด ส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวฉะเชิงเทรา และส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวเมืองเพชร ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขียนไว้ในหนังสือ สยามประเภท ว่า บิดาของสุนทรภู่เป็นข้าราชการแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ชื่อขุนศรีสังหาร (พลับ) [2] ข้อมูลนี้สอดคล้องกับบทกวีไม่ทราบชื่อผู้แต่งซึ่ง ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ พบที่อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จ.ระยอง ว่าบิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย[3] ทว่าแนวคิดที่ได้รับการยอมรับกันค่อนข้างกว้างขวางคือ ตระกูลฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร สืบเนื่องจากเนื้อความใน นิราศเมืองเพชร ฉบับค้นพบเพิ่มเติมโดย อ.ล้อม เพ็งแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2529[4]

[แก้]วัยเยาว์

สุนทรภู่ มีชื่อเดิมว่า ภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้ เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม
เชื่อกันว่า ในวัยเด็กสุนทรภู่ได้ร่ำเรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ตามเนื้อความส่วนหนึ่งที่ปรากฏใน นิราศสุพรรณ[5] ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน[6] แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม จากสำนวนกลอนของสุนทรภู่ เชื่อว่าผลงานที่มีการประพันธ์ขึ้นก่อนสุนทรภู่อายุได้ 20 ปี (คือก่อนนิราศเมืองแกลง) เห็นจะได้แก่กลอนนิทานเรื่อง โคบุตร[7]
สุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ชะรอยว่าหล่อนจะเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุกก็เดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง การเดินทางครั้งนี้สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศเมืองแกลง พรรณนาสภาพการเดินทางต่างๆ เอาไว้โดยละเอียด และลงท้ายเรื่องว่า แต่งมาให้แก่แม่จัน "เป็นขันหมากมิ่งมิตรพิสมัย"[8] ในนิราศได้บันทึกสมณศักดิ์ของบิดาของสุนทรภู่ไว้ด้วยว่า เป็น "พระครูธรรมรังษี" เจ้าอาวาสวัดป่ากร่ำ กลับจากเมืองแกลงคราวนี้ สุนทรภู่จึงได้แม่จันเป็นภรรยา
แต่กลับจากเมืองแกลงเพียงไม่นาน สุนทรภู่ต้องติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่ อ.พระพุทธบาทจ.สระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศพระบาท พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย
สุนทรภู่กับแม่จันมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อหนูพัด ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนหนุ่มสาวทั้งสองมีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป
หลังจาก นิราศพระบาท ที่สุนทรภู่แต่งในปี พ.ศ. 2350 ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลยจนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359

[แก้]กวีราชสำนัก

สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 มูลเหตุในการได้เข้ารับราชการนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจแต่งโคลงกลอนได้เป็นที่พอพระทัย ทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงทรงเรียกเข้ารับราชการ แนวคิดหนึ่งว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่งกลอนในบัตรสนเท่ห์ ซึ่งปรากฏชุกชุมอยู่ในเวลานั้น[9] อีกแนวคิดหนึ่งสืบเนื่องจาก "ช่วงเวลาที่หายไป" ของสุนทรภู่ ซึ่งน่าจะใช้วิชากลอนทำมาหากินเป็นที่รู้จักเลื่องชื่ออยู่ ชะรอยจะเป็นเหตุให้ถูกเรียกเข้ารับราชการก็ได้[3]
เมื่อแรกสุนทรภู่รับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถว มีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษรเพื่อคอยรับใช้ แต่มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร การต่อกลอนของสุนทรภู่คราวนี้เป็นที่รู้จักทั่วไป เนื่องจากปรากฏรายละเอียดอยู่ในพระนิพนธ์ ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้แต่งในคราวนั้นคือ ตอนนางสีดาผูกคอตาย และตอนศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกัณฐ์[9] สุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น หลวงสุนทรโวหาร ในเวลาต่อมา[10] ได้รับพระราชทานบ้านหลวงอยู่ที่ท่าช้าง ใกล้กับวังท่าพระ และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าเป็นประจำ คอยถวายความเห็นเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่างๆ รวมถึงได้ร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นหนึ่งในคณะร่วมแต่ง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นใหม่
ระหว่างรับราชการ สุนทรภู่ต้องโทษจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่ แต่จำคุกได้ไม่นานก็โปรดพระราชทานอภัยโทษ เล่ากันว่าเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย[11] ภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง สวัสดิรักษา ในระหว่างเวลานี้
ในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อพ่อตาบ

ช่วงปลายของชีวิต

ปี พ.ศ. 2385 ภิกษุภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม คืนหนึ่งหลับฝันเห็นเทพยดาจะมารับตัวไป เมื่อตื่นขึ้นคิดว่าตนถึงฆาตจะต้องตายแล้ว จึงประพันธ์เรื่องรำพันพิลาป พรรณนาถึงความฝันและเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบทเพื่อเตรียมตัวจะตาย ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุได้ 56 ปี
หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร
สุนทรภู่พำนักอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) มีห้องส่วนตัวเป็นห้องพักกั้นเฟี้ยมที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" เชื่อว่าสุนทรภู่พำนักอยู่ที่นี่ตราบจนสิ้นชีวิต[12] เมื่อปี พ.ศ. 2398 สิริรวมอายุได้ 69 ปี

[แก้]ทายาท

สุนทรภู่มีบุตรชายสามคน คือพ่อพัด เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน พ่อตาบ เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และพ่อนิล เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อพ่อกลั่น และพ่อชุบ
พ่อพัดนี้เป็นลูกรัก ได้ติดสอยห้อยตามสุนทรภู่อยู่เสมอ เมื่อครั้งสุนทรภู่ออกบวช พ่อพัดก็ออกบวชด้วย[13] เมื่อสุนทรภู่ได้มารับราชการกับเจ้าฟ้าน้อย พ่อพัดก็มาพำนักอยู่ด้วยเช่นกัน[12] ส่วนพ่อตาบนั้นปรากฏว่าได้เป็นกวีมีชื่ออยู่พอสมควร[9] เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า ภู่เรือหงส์ เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่นี้ ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขียนไว้ในหนังสือสยามประเภท อ้างถึงผู้ถือนามสกุล ภู่เรือหงส์ ที่ได้รับบำเหน็จจากหมอสมิทเป็นค่าพิมพ์หนังสือเรื่อง พระอภัยมณี[3][14] แต่หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ไม่เป็นที่ยอมรับของราชสำนัก ด้วยปรากฏอยู่บ่อยครั้งว่ามักเขียนเรื่องกุ เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่จึงพลอยไม่ได้รับการเชื่อถือไปด้วย จนกระทั่ง ศจ.ผะอบ โปษะกฤษณะ ยืนยันความข้อนี้เนื่องจากเคยได้พบกับหลานปู่ของพ่อพัดมาด้วยตนเอง[14]